วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเเละหลอดเลือด



อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

       โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภค

       อาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น ดังนี้
1. จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
2. เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
3. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
4. เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
5. บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

เเหล่งข้อมูล : อาหารเพื่อสุขภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ
http://www.thaiheartclinic.com/data4.asp


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ยาที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ




        ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจมีอยู่มากมายหลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มก็มีอยู่หลายชนิด ฤทธิ์ของยาแต่ละชนิดก็อาจใช้รักษาโรคหัวใจได้หลายแบบ เช่นใช้รักษาได้ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหัวใจวาย บางชนิดใช้รักษาได้ทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะและความดันโลหิตสูง ฯลฯ การจะใช้ยากลุ่มใดแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะยาที่ถูกใช้บ่อยๆ

1.ยาต้านเกร็ดเลือด (antiplatelet drugs)
             ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดไม่ให้จับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ตัวอย่างของยากลุ่มนี้คือ แอสไพรินซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดจำเป็นต้องกินต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ส่วนยา ticlopidine หรือ clopidogrel จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกินยาแอสไพรินได้เนื่องจากมีปัญหาโรคกระเพาะหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร รวมทั้งอาจใช้ร่วมกับยาแอสไพรินในบางกรณี ปัญหาที่อาจพบจากยากลุ่มนี้คือการที่เลือดหยุดยากกว่าปกติเวลาได้รับอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล

2.ยากลุ่มไนเตรท (nitrate)
      ใช้สำหรับลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จากฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือดทั่วร่างกาย ช่วยให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก มีทั้งชนิดกิน อมใต้ลิ้น พ่นใต้ลิ้น ทาที่ผิวหนัง หรือแผ่นแปะที่ผิวหนัง ให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน ขณะใช้ยาควรอยู่ในท่านั่ง ไม่ควรยืนหรือนอน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด มึนงง เมื่อใช้ยานี้ และห้ามใช้ร่วมกับยารักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) เช่นยา Viagra, Cialis, Levitra เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำมากจนเป็นอันตรายได้ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้

3. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
      ยาในกลุ่มนี้คือ warfarin หรือ coumadin ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนของเลือด มักใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือลิ้นหัวใจตีบบางชนิด ช่วยลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมองซึ่งจะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่กินยากลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับการแข็งตัวของเลือดเป็นระยะเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม ถ้าระดับยาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกิริยากับยาหลายชนิดมากรวมทั้งอาหารและสารเสริมอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งทำให้ระดับยาในเลือดลดลงหรือเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่เป็นผลดีทั้งคู่ จึงควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าท่านกินยาในกลุ่มนี้อยู่ ไม่ควรซื้อยากินเอง

4.ยาลดไขมันในเลือด (Lipid –lowing drugs)
      ไขมันในเลือดมี 2 ชนิดหลักๆคือ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ยาที่ใช้ลดไขมันทั้ง 2 ชนิดมีหลายชนิด ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาที่ลดคอเลสเตอรอลเป็นเป้าหมายหลัก ที่ใช้บ่อยและมีหลักฐานว่าช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคือยากลุ่มสเตติน(statin)เช่น ซิมวาสเตติน อทอวาสเตติน ผลเสียจากยากลุ่มนี้มีน้อยมาก ที่พบได้เช่นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ตับอักเสบ ดังนั้นควรมีการตรวจ เลือดเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้น ส่วนยาที่ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์เช่น ไฟเบรท โอเมกา-3 มักใช้ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงมาก หรือสูงอย่างเดียวโดยที่คอเลสเตอรอลไม่สูง

5.ยาดิจิทัลลิส(digitalis)
      ยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวน้อยกว่าปกติ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจ ห้องบนซ้ายเร็วผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ผลข้างเคียงของยาคือเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย การมองเห็นผิดปกติ

6.ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
      ใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นยาที่ช่วยขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดตะคริวหรืออาการอื่นๆเนื่องจากการสูญเสียเกลือแร่ไปในปัสสาวะ


7.ยาต้านเบตา (beta-receptor blockers)
       ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเบตารีเซบเตอร์ที่หัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและบีบตัวแรงน้อยลง ใช้รักษาความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการเจ็บหน้าอกและรักษาภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงหรือความรู้สึกทางเพศลดลง

8.ยาต้านแคลเซียม (calcium-channel blockers)
      ลดปริมาณแคลเซียมที่เข้าสู่เซลหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความดันโลหิต ลดอาการเจ็บหน้าอก ยาบางชนิดจะสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือหน้าแข้งบวม เวียนศีรษะ

9.ยาต้านแองจิโอเทนซิน คอนเวอร์ตติง เอนไซม์ (Angiotensin converting enzyme inhibitors, ACEIs)
       เป็นยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยลดความดันโลหิต รักษาภาวะหัวใจวาย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการไอแห้งๆ และอาจทำให้การทำงานของไตลดลงในผู้ที่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงไตตีบทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งอาจทำให้ระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดสูง

10.ยาต้านแองจิโอเทนซินรีเซบเตอร์ (Angiotensin receptor blockers, ARBs)
     ออกฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เป็นยาที่มีข้อดีและผลข้างเคียงคล้ายกับยากลุ่ม ACEIs ที่แตกต่างคือไม่ทำให้เกิดอาการไอ


สรุป
      เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะได้รับยาหลายชนิดสำหรับรักษาโรคหัวใจและโรคอื่นๆที่มีร่วมด้วย การกินยาให้ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติหลังกินยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ที่สั่งยาให้ ไม่ควรหยุดกินยาเอง ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือยาที่กินอยู่สามารถสอบถามจากแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ทันที เมื่อผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษาดีขึ้นก็จะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย


เเหล่งข้อมูล : เรื่องยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

http://www.perfectheart.co.th/th_knowledge10.html(ปี พ.ศ.2556)

โรคหลอดเลือดและน้ำเหลือง



โรคหลอดเลือดและน้ำเหลือง
หลอดเลือดเป็นท่อกลวงเพื่อนำนำและสารหลั่งไปยังอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย

-Ateries หลอดเลือดแดงนำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
-veins เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากร่างกายไปฟอกที่ปอด
-capillaries เป็นหลอดเลือดฝอยเล็กๆต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
-Lymphatics เมื่อสารน้ำออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อ ระบบน้ำเหลืองจะนำน้ำนั้นกลับสู่ร่างกาย


ตัวอย่างโรคต่างๆ




Aterosclerosis or arteriosclersis
     เป็นภาวะที่มีการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด หลอดเลือดไม่สามารถขยายได้เมื่อหัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดหนาตัวหรือเกิดจากมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ผลอาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลงจนเกิดอาการ
- สาเหตุ
- ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
- อาการของโรค
- การป้องกัน
อ่านที่นี้

ความดันโลหิตสูง High Blood Pressure
     เป็นภาวะที่มีแรงกระทำต่อผนังหลอดเลือดมากซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว โรคความดันโลหิตสูงอาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหัวใจวาย
- อาการของโรค
- สาเหตุ
- การวินิจฉัย
- ปัจจัยเสี่ยง
- การรักษา
- โรคแทรกซ้อน
- การป้องกัน
อ่านที่นี่

โรคอัมพาต Stroke
     โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันหรือโรคลมปัจจุบัน เป็นภาวะที่สมองสูญเสียหน้าที่การทำงาน สาเหตุอาจจะเกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ischemia หรือเกิดจากเส้นเลือดสมองแตกและมีเลือดคั่งในเนื้อสมอง Hemorrhage
- อาการของโรค
- สาเหตุ
- การวินิจฉัย
- ปัจจัยเสี่ยง
- ผลของอัมพาต
- โรคแทรกซ้อน
- การป้องกัน
อ่านที่นี่

Aneurysm
     หมายถึงภาวะที่ผนังหลอดเลือดโป่งพองออก ภาวะนี้จะโตอยู่ตลอดเวลา และมีโอกาศที่จะแตกและเสียชีวิต เส้นเลือดที่โป่งมากคือเส้นเลือดแดงใหญ่ในท้อง Abdominal aorta aneurysm


โรคหลอดเลือดส่วนปลาย Peripheral arterial disease
      หมายถึงโรคของหลอดเลือดที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงแขนหรือขาไม่เพียงพอ อาการเริ่มแรกจะมีอาการปวดแขนหรือขาเมื่อเวลาใช้งาน หากเป็นมากขึ้นจะปวดแขนหรือขาตลอดเวลา ผิวเย็น ผิวคลำมัน หากไม่แก้ไขอาจจะทำให้ต้องตัดแขนหรือขา
- การวินิจฉัยโรค
- สาเหตุ
- อาการ
- สัญญาณเตือน
- การไหลเวียนของเลือด
- การรักษา
อ่านที่นี่


โรคหลอดเลือดอักเสบLymphedema Vasculitis
     หมายถึงการอักเสบของหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดแดง แต่ก็อาจจะเกิดการอักเสบกับหลอดเลือดดำได้ ผลจากการอักเสบทำให้ผนังหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นน้อยลง

Venous incompetence  
     เลือดดำาหมายถึงเลือดที่ร่างกายใช้แล้วจะถูกนำกลับสู่ร่างกายโดยหลอดเลือดดำ โดยปกติการเดินทางของหลอดเลือดดำจะไปในแนวทางเดียวโดยมีลิ้นกั้นมิให้เลือดไหลกลับ ภาวะนี้คือภาวะที่ลิ้นหลอดเลือดรั่ว เลือดจะไหลกลับมาทำให้หลอดเลือดโป่ง
- อาการของโรค
- สาเหตุ
- การวินิจฉัย
- ปัจจัยเสี่ยง
- การรักษา
- การป้องกัน
อ่านที่นี่

Venous thrombosis
     หมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือด โดยมากเกิดที่เส้นเลือดน่อง ทำให้ขาบวม หากลิ่มเลือดหลุดลอยเข้ากระแสเลือดอาจจะทำให้ไปอุดหลอดเลือดในปอด ซึ่งอันตรายทำให้เสียชีวิต
- อาการของโรค
- สาเหตุ
- การวินิจฉัย
- ปัจจัยเสี่ยง
- การรักษา
- การป้องกัน
อ่านที่นี่


Varicose veins
   หมายถึงภาวะที่หลอดเลือดดำมีการโป่งพองและบิดตัว โดยมากเกิดจากลิ้นผนังหลอดเลือดรั่ว
- อาการของโรค
- สาเหตุ
- การวินิจฉัย
- ปัจจัยเสี่ยง
- การรักษา
- การป้องกัน
  อ่านที่นี่


เกิดจากมีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี ทำให้เกิดการบวมและปวด สาเหตุอาจจะเกิดจากการอักเสบ เช่นโรคเท้าช้าง

การตรวจพิเศษโรคหัวใจ

อาการโรคหัวใจ


เเหล่งข้อมูล:โรคหัวใจ
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/index.html#.UjWNfdIwwkH

โรคหัวใจวาย Congestive Heart Failure



โรคหัวใจวาย Congestive Heart Failure

   หมายถึงภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญไม่เพียงพอ ไม่ใช่หัวใจหยุดทำงาน เพียงแค่หัวใจบีบเลือดไม่เพียงพอที่เลี้ยงอวัยวะภายในทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เท้าบวม ส่วนสาเหตุอาจจะเกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ชนิดของโรคหัวใจวาย
- สาเหตุ
อ่านที่นี่


สื่อเกี่ยวข้อง

เเหล่งข้อมูล:โรคหัวใจ
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/index.html#.UjWNfdIwwkH

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ Cardiomyopathy



โรคกล้ามเนื้อหัวใจ Cardiomyopathy
   เป็นโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอาจจะเกิดจากพันธุกรรม โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะหนาตัว (Hypertrophic) หัวใจอาจจะพองโต(dilate) หากไม่ทราบสาเหตุเราเรียก idiopathic






Idiopathic dilated cardiomyopathy หัวใจพองโตโดยไม่ทราบสาเหตุ
Hypertrophic cardiomyopathy รคกล้ามเนื้อหัวใจหนา


เเหล่งข้อมูล:โรคหัวใจ
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/index.html#.UjWNfdIwwkH

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Coronary heart disease



โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Coronary heart disease     หมายถึงการที่เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เช่นการเจ็บหน้าอก การเกิดช็อกจากหัวใจเป็นต้น กลุ่มโรคนี้แบ่งออกเป็น


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Coronary artery disease



โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Coronary artery disease

   เป็นโรคที่เกิดกับหลอดเลือด Coronary artery ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ทางการแพทย์เรียก CAD สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด(ที่เรียกว่า angina pectoris) หากเป็นมากกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เรียกว่า Acute Myocardial infartion ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตมาก อ่านรายละเอียด คลิก!!




http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/acs/index.html#.UjWFq9IwwkE


เเหล่งข้อมูล:โรคหัวใจ