ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจมีอยู่มากมายหลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มก็มีอยู่หลายชนิด ฤทธิ์ของยาแต่ละชนิดก็อาจใช้รักษาโรคหัวใจได้หลายแบบ เช่นใช้รักษาได้ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหัวใจวาย บางชนิดใช้รักษาได้ทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะและความดันโลหิตสูง ฯลฯ การจะใช้ยากลุ่มใดแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะยาที่ถูกใช้บ่อยๆ
1.ยาต้านเกร็ดเลือด (antiplatelet drugs)
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดไม่ให้จับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ตัวอย่างของยากลุ่มนี้คือ แอสไพรินซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดจำเป็นต้องกินต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ส่วนยา ticlopidine หรือ clopidogrel จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกินยาแอสไพรินได้เนื่องจากมีปัญหาโรคกระเพาะหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร รวมทั้งอาจใช้ร่วมกับยาแอสไพรินในบางกรณี ปัญหาที่อาจพบจากยากลุ่มนี้คือการที่เลือดหยุดยากกว่าปกติเวลาได้รับอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล
2.ยากลุ่มไนเตรท (nitrate)
ใช้สำหรับลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จากฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือดทั่วร่างกาย ช่วยให้หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก มีทั้งชนิดกิน อมใต้ลิ้น พ่นใต้ลิ้น ทาที่ผิวหนัง หรือแผ่นแปะที่ผิวหนัง ให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน ขณะใช้ยาควรอยู่ในท่านั่ง ไม่ควรยืนหรือนอน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด มึนงง เมื่อใช้ยานี้ และห้ามใช้ร่วมกับยารักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) เช่นยา Viagra, Cialis, Levitra เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำมากจนเป็นอันตรายได้ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากลุ่มนี้
3. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
ยาในกลุ่มนี้คือ warfarin หรือ coumadin ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนของเลือด มักใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือลิ้นหัวใจตีบบางชนิด ช่วยลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมองซึ่งจะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่กินยากลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับการแข็งตัวของเลือดเป็นระยะเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม ถ้าระดับยาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกิริยากับยาหลายชนิดมากรวมทั้งอาหารและสารเสริมอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งทำให้ระดับยาในเลือดลดลงหรือเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่เป็นผลดีทั้งคู่ จึงควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าท่านกินยาในกลุ่มนี้อยู่ ไม่ควรซื้อยากินเอง
4.ยาลดไขมันในเลือด (Lipid –lowing drugs)
ไขมันในเลือดมี 2 ชนิดหลักๆคือ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ยาที่ใช้ลดไขมันทั้ง 2 ชนิดมีหลายชนิด ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาที่ลดคอเลสเตอรอลเป็นเป้าหมายหลัก ที่ใช้บ่อยและมีหลักฐานว่าช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคือยากลุ่มสเตติน(statin)เช่น ซิมวาสเตติน อทอวาสเตติน ผลเสียจากยากลุ่มนี้มีน้อยมาก ที่พบได้เช่นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ตับอักเสบ ดังนั้นควรมีการตรวจ เลือดเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้น ส่วนยาที่ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์เช่น ไฟเบรท โอเมกา-3 มักใช้ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงมาก หรือสูงอย่างเดียวโดยที่คอเลสเตอรอลไม่สูง
5.ยาดิจิทัลลิส(digitalis)
ยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวน้อยกว่าปกติ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจ ห้องบนซ้ายเร็วผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ผลข้างเคียงของยาคือเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย การมองเห็นผิดปกติ
6.ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
ใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นยาที่ช่วยขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดตะคริวหรืออาการอื่นๆเนื่องจากการสูญเสียเกลือแร่ไปในปัสสาวะ
7.ยาต้านเบตา (beta-receptor blockers)
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเบตารีเซบเตอร์ที่หัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและบีบตัวแรงน้อยลง ใช้รักษาความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการเจ็บหน้าอกและรักษาภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
8.ยาต้านแคลเซียม (calcium-channel blockers)
ลดปริมาณแคลเซียมที่เข้าสู่เซลหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความดันโลหิต ลดอาการเจ็บหน้าอก ยาบางชนิดจะสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือหน้าแข้งบวม เวียนศีรษะ
9.ยาต้านแองจิโอเทนซิน คอนเวอร์ตติง เอนไซม์ (Angiotensin converting enzyme inhibitors, ACEIs)
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยลดความดันโลหิต รักษาภาวะหัวใจวาย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการไอแห้งๆ และอาจทำให้การทำงานของไตลดลงในผู้ที่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงไตตีบทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งอาจทำให้ระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดสูง
10.ยาต้านแองจิโอเทนซินรีเซบเตอร์ (Angiotensin receptor blockers, ARBs)
ออกฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เป็นยาที่มีข้อดีและผลข้างเคียงคล้ายกับยากลุ่ม ACEIs ที่แตกต่างคือไม่ทำให้เกิดอาการไอ
สรุป
เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะได้รับยาหลายชนิดสำหรับรักษาโรคหัวใจและโรคอื่นๆที่มีร่วมด้วย การกินยาให้ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติหลังกินยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ที่สั่งยาให้ ไม่ควรหยุดกินยาเอง ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือยาที่กินอยู่สามารถสอบถามจากแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ทันที เมื่อผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษาดีขึ้นก็จะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย
เเหล่งข้อมูล : เรื่องยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ
http://www.perfectheart.co.th/th_knowledge10.html(ปี พ.ศ.2556)
ยาในกลุ่มนี้คือ warfarin หรือ coumadin ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการจับตัวเป็นก้อนของเลือด มักใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือลิ้นหัวใจตีบบางชนิด ช่วยลดโอกาสเกิดลิ่มเลือดในหัวใจหลุดไปอุดตันเส้นเลือดสมองซึ่งจะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่กินยากลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับการแข็งตัวของเลือดเป็นระยะเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม ถ้าระดับยาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกิริยากับยาหลายชนิดมากรวมทั้งอาหารและสารเสริมอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งทำให้ระดับยาในเลือดลดลงหรือเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่เป็นผลดีทั้งคู่ จึงควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าท่านกินยาในกลุ่มนี้อยู่ ไม่ควรซื้อยากินเอง
4.ยาลดไขมันในเลือด (Lipid –lowing drugs)
ไขมันในเลือดมี 2 ชนิดหลักๆคือ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ ยาที่ใช้ลดไขมันทั้ง 2 ชนิดมีหลายชนิด ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาที่ลดคอเลสเตอรอลเป็นเป้าหมายหลัก ที่ใช้บ่อยและมีหลักฐานว่าช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคือยากลุ่มสเตติน(statin)เช่น ซิมวาสเตติน อทอวาสเตติน ผลเสียจากยากลุ่มนี้มีน้อยมาก ที่พบได้เช่นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ตับอักเสบ ดังนั้นควรมีการตรวจ เลือดเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้น ส่วนยาที่ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์เช่น ไฟเบรท โอเมกา-3 มักใช้ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงมาก หรือสูงอย่างเดียวโดยที่คอเลสเตอรอลไม่สูง
5.ยาดิจิทัลลิส(digitalis)
ยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวน้อยกว่าปกติ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจ ห้องบนซ้ายเร็วผิดจังหวะ (atrial fibrillation) ผลข้างเคียงของยาคือเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย การมองเห็นผิดปกติ
6.ยาขับปัสสาวะ (Diuretics)
ใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นยาที่ช่วยขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดตะคริวหรืออาการอื่นๆเนื่องจากการสูญเสียเกลือแร่ไปในปัสสาวะ
7.ยาต้านเบตา (beta-receptor blockers)
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเบตารีเซบเตอร์ที่หัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและบีบตัวแรงน้อยลง ใช้รักษาความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการเจ็บหน้าอกและรักษาภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงหรือความรู้สึกทางเพศลดลง
8.ยาต้านแคลเซียม (calcium-channel blockers)
ลดปริมาณแคลเซียมที่เข้าสู่เซลหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความดันโลหิต ลดอาการเจ็บหน้าอก ยาบางชนิดจะสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือหน้าแข้งบวม เวียนศีรษะ
9.ยาต้านแองจิโอเทนซิน คอนเวอร์ตติง เอนไซม์ (Angiotensin converting enzyme inhibitors, ACEIs)
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยลดความดันโลหิต รักษาภาวะหัวใจวาย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการไอแห้งๆ และอาจทำให้การทำงานของไตลดลงในผู้ที่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงไตตีบทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งอาจทำให้ระดับโปแตสเซี่ยมในเลือดสูง
10.ยาต้านแองจิโอเทนซินรีเซบเตอร์ (Angiotensin receptor blockers, ARBs)
ออกฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เป็นยาที่มีข้อดีและผลข้างเคียงคล้ายกับยากลุ่ม ACEIs ที่แตกต่างคือไม่ทำให้เกิดอาการไอ
สรุป
เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะได้รับยาหลายชนิดสำหรับรักษาโรคหัวใจและโรคอื่นๆที่มีร่วมด้วย การกินยาให้ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติหลังกินยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ที่สั่งยาให้ ไม่ควรหยุดกินยาเอง ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือยาที่กินอยู่สามารถสอบถามจากแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ทันที เมื่อผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษาดีขึ้นก็จะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย
เเหล่งข้อมูล : เรื่องยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ
http://www.perfectheart.co.th/th_knowledge10.html(ปี พ.ศ.2556)
ที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรมในปัจจุบันต้องเผชิญจะรุนแรงและแก้ปัญหาทั้งหมดของหัวใจดีกว่าบราซิล โรคหัวใจ
ตอบลบ